วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

        การปลูกผัก Hydroponics ทานเอง ที่บ้าน

ความสับสนวุ่นวายในทุกวันนี้ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรม บ้างก็ป่วยต้องไปหาหมอยา แต่ถ้าหากว่าเราดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีจากภายใน ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงพร้อมรับแรงปะทะ ความวุ่นวาย ต่างๆได้อย่างสบาย  การเลือกกินอาหารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรง โดยเฉพาะการทานพืชผักต่างๆที่มีเส้นใย เนื่องจากระบบลำไส้ของเราแทบจะถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของระบบภายใน ดังนั้นการรับประทานอาหารอะไรก็ตามที่มีเส้นใยสูงจะทำให้การย่อยอาหารของเราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลโดยรวมมาสู่ภายนอกคือหน้าตาสดใส มีความสุขนั้นเอง  ผมเป็นคนหนึ่งที่ทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่หลายปีแล้วที่งดทานเนื้อวัว ดังนั้นการทานผักทุกชนิดหรือผักสลัดจึงเป็นอีกเมนูหนึ่งที่ต้องมีทุกมื้อครับ ผักสลัดก็มีหลายชนิดมากๆ เราสามารถหาซื้อได้ตามห้างหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ราคาก็พอประมาณ ถึงขั้นขอคิดดูก่อน และเรื่องราคานี้แหละที่ทำให้ผมต้องคิดเล่นๆว่า แล้วทำไม เราไม่ปลูกทานเองล่ะ
เมื่อหาข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ตก็พบว่ามีหลายๆคนได้ปลูกเองเหมือนกัน แต่วิธีที่ผมสนใจคือการปลูกแบบพืชไร้ดิน ปลอดสารพิษ หรือการปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) การปลูกวิธีนี้ทำให้ผมมีผักทานอย่างน้อยๆ สัปดาห์ละ2มื้อแน่ๆ และจะทานได้ตลอดปีครับ
 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมเบื้องต้นคือ
พื้นที่ ขนาด ขั้นต่ำ 1 .5 เมตร x 1.5 เมตร (ขนาดเล็กสุด)
พื้นที่มีแสงแดด อย่าให้แดดจัดมาก ถ้ามีแดดจัดมากให้คลุมใยกรองแสง
มีน้ำสะอาด ใช้น้ำประปาได้ยิ่งดี เพราะจะคุมคุณภาพน้ำได้ง่าย
ผมใช้ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) ของ ACK Hydro Fram ขนาด 2 เมตร
ผมได้คุยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ ACK Hydro Farm และพบว่าการปลูกผักทานเองนี้ไม่ใช้เรื่องยากเลยครับ การดูแลก็ง่ายมาก ทั้งๆที่ผมเป็นนักเดินทาง ที่ต้องไปโน้นไปนี้ตลอดเวลาก็สามารถวางแผนการปลูกและการดูแลได้ ตลอดเวลาที่เป็นลูกค้านั้น เราสามารถสอบถามหรือปรึกษาที่ ACK Hydro Farm ได้ตลอดเวลาโดยทางบริษัทฯเค้าจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและเป็นกันเองมากๆครับ




ชุดปลูก Hydroponics Kit (NFT) ขนาด 2 เมตร (2.00×0.80 เมตร)
- รางปลูก 4 ราง ( ปลูกได้ 38 ต้น)
- ต้นกล้า 38 ต้น
-ชุดเพาะ 2 ชุด
- ถาดเพาะ 1 ถาด
- ถ้วยเพาะ 24 ถ้วย
- Mixed Media สำหรับ 40 ถ้วยเพาะ
- เมล็ดพันธุ์ 24 เมล็ด
-สารละลายธาตุอาหาร A และ B อย่างละ 1 ลิตร จำนวน 2 ชุด
-ชุดตรวจสอบค่าความเป็นกรด/ด่างของน้ำ 1 ขวด
-PH Down 500 ซีซี.1 ขวด
-ถังน้ำขนาด 50 ลิตร ( สำหรับใส่สารละลายธาตุอาหาร) 1 ใบ
-ปั๊มน้ำ 1 ตัว
-ชุดขาตั้ง 1 ชุด
-โครง + มุ้ง 1 ชุด
-CD + หนังสือคู่มือแนะนำการปลูก



การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics)
                หมายถึง การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้าน มาตรฐาน, ปริมาณ และคุณภาพ ของผลผลิต ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูก ได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน  ซึ่งหลายคนคงจะคิดว่า การปลูกพืชแบบนี้ เป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ตอนนี้คงต้องลบความคิดเก่า ๆ เหล่านี้ออกไปก่อน เพราะด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สะดวกสบายมากขึ้น ในการที่จะปลูกผักไว้รับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวัน ที่สำคัญวิธีการปลูกก็ง่ายแสนง่ายด้วยชุดปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ และความต้องการของเราเอง

ฟิลเลไอซเบิร์ก
เรดคอรัล
ผักกรอส ที่กินกับซีซาสลัด
ฟาร์มของ ACK ที่อ่อนนุช

สำหรับใครที่คิดจะปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics) สามารถขอคำแนะนำ จากผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นวิธีการดูแล การให้คำปรึกษา รวมถึงปัญหาต่าง ๆ และการบริการที่เป็นกันเอง ได้ที่ บริษัท เอซีเค ไฮโดรฟาร์ม จำกัด



วัดไทยวัฒนาราม เดิมชื่อ วัดแม่ตาวเงี้ยว หรือ วัดไทยใหญ่ ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลท่าสายลวด ห่างจากตัวอำเภอแม่สอดไปประมาณ 5 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 84 ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 สายตาก - แม่สอด เส้นที่จะไปตลาดริมเมย ก่อนถึงสะพานมิตรภาพไทย - พม่า เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวไทยใหญ่ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม พิธีกรรมต่างๆ ได้รับอิทธิพลมาจากสหภาพพม่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยนายมุ้ง เป็นชาวพม่ารัฐฉาน ที่อพยพครอบครัวมาอาศัยอยู่ที่อำเภอแม่สอด และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านแม่ตาว ต่อมาได้รับพระราชทานนามว่า หมื่นอาจคำแหงหาญ ในปี พ.ศ. 2500 ทางกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาในสังกัดกรมศาสนา ในวัดมีพระพุทธมหามุณี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากพระพุทธมหามุณีอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองมัณฑเลย์ สหภาพพม่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจังหวัดตากศรัทธาเลื่อมใสกันมาก

แผนที่วัดไทยวัฒนาราม และ สถานที่ใกล้เคียง

Copyright 2009 www.Thai-Travel.biz All Rights Reserved.

น้ำพุร้อนแม่กาษา 



น้ำพุร้อนแม่กาษา


การเดินทางไปยังน้ำพถร้อนแม่กาษาและถ้ำแม่อุษานั้น ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 105 (แม่สอด-แม่ระมาด) แยกขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 13 ผ่านหมู่บ้านแม่กาษาถึงน้ำพุร้อนและถ้ำแม่อุษา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร จำนวน 2 บ่อ มีอุณหภูมิของน้ำสูง ประมาณ 75 องศาเซลเซียส ปัจจุบันมีห้องบริการอาบน้ำแร่และบ่ออาบน้ำ ซึ่งไม่มีกลิ่นฉุนจากก๊าซกำมะถัน บริเวณโดยรอบบ่อน้ำพุร้อนมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติและยังมีถ้ำแม่อุษาที่สวยงาม เป็นถ้ำขนาดใหญ่มีห้องโถงถึง 13 ห้องที่มีทางเดินถึงกันได้ทุกห้อง ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปแบบต่างๆ แต่ละห้องจะมีความสวยงามแปลกตาไม่เหมือนกัน เช่น ห้องเห็ดหลินจือ เพชรพิมาน กำหล่ำแก้ว ธาราแก้ว เสาเอก กาน้ำเจ้าแม่อุษา เป็นต้น ภายในอากาศโปร่งเย็นสบายไม่อับและเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวนับล้านตัว ใช้เวลาเดินชมความงดงามภายในถ้ำประมาณ 3 ชั่วโมง นักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ศูนย์บริการหมายเลขโทรศัพท์ 0 5555 7190, 0 5555 7133

 อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ  
Image2
Image3 Image4 Image5
 
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ  
เป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา  
 
 ข้อมูลทั่วไป
น้ำตกพาเจริญเป็นน้ำตกหินปูนที่สวยงามด้วยชั้นน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นเล็กชั้นน้อยจำนวนมาก และตั้งอยู่ริมทางหลวงไม่ไกลจากเมืองแม่สอด จึงเป็นจุดที่นิยมแวะมาท่องเที่ยวและพักผ่อน อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใน อำเภอแม่สอด และอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ประกอบไปด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็น แหล่งต้นน้ำลำธาร และยังเป็นต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา มีเนื้อที่ประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร

ด้วยกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้จัดตั้งวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ท้องที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2535 ประกอบด้วยกรมป่าไม้ได้ พิจารณาแล้ว เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าบริเวณต่างๆ กำลังถูกทำลาย และยึดถือครอบครองเป็นจำนวนมาก กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 937/2536 ให้นายธารากร อุดมธรรม เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ปฏิบัติงานประจำและทำหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ป่าสงวนแห่งชาติป่าช่องแคบ และป่าแม่โกนเกน ท้องที่จังหวัดตาก และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงที่มีสภาพเหมาะสมเป็นอุทยานแห่งชาติ จากรายงานการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เรื่องการจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกพาเจริญ จังหวัดตาก ให้เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด ในท้องที่ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลธาตุผาแดง ตำบลแม่กุ ตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด ตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีสภาพป่าที่สมบูรณ์และมีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมที่จะจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

ต่อมากรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งให้สำรวจพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติโดยกำหนดให้พื้นที่ป่าทั้งหมดในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่สอด เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 534,375 ไร่ หรือ 855 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลพะวอ ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กุตำบลแม่ตาว ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด และตำบลช่องแคบ ตำบลพบพระ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2537 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 เห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งเป็น “อุทยานแห่งชาติ”
 ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนวางตัวไปตามแนวเหนือใต้ มีพื้นที่ราบเล็กน้อยตามเขตลำน้ำ ยอดเขาสูงเด่นในพื้นที่มีดอยป่าตาล ดอยเด่นกระทิง ดอยหลวง ดอยหมากหมื่น เขาลมพักเย็น เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางทิศใต้สูงถึง 1,765 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี จึงเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของห้วยแม่ละเมา ห้วยอุ้มเปี้ยม ที่มีทิศทางการไหลของน้ำจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ มีลำห้วยหลายสายที่มีต้นกำเนิดจากพื้นที่นี้ไหลสู่พื้นที่เกษตรกรรมของอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ เช่น ห้วยแม่สอด ห้วยแม่ดาว ห้วยผักกูด ฯลฯ
 ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิอากาศส่วนใหญ่จึงมีอากาศเย็นสบาย แบ่งตามฤดูกาลได้ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มจากเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ในช่วงฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด เพราะเป็นที่สูงมีลมพัด ฤดูหนาวไม่หนาวมาก วัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 6 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดฤดู ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิเมตร/ปี
 พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าทั่วไปยังคงสมบูรณ์ ส่วนมากเป็นป่าเบญจพรรณ และป่าบางส่วนเป็นป่าสนเขา พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง ประดู่ สนเขา มะม่วงป่า เต็งรัง เหียง ตะเคียนหนู ตะเคียนทอง มะค่าโมง มะค่าแต้ แดง ยมหอม ยมหิน ฯลฯ ไม้พื้นล่าง เช่น เฟิร์น บอนป่า กระเจียวป่า เป็นต้น

สัตว์ป่า จากการสำรวจพบว่ามีหลายชนิดเช่น กระทิง กวาง เก้ง หมี นกชนิดต่างๆ เสือ หมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้า งูชนิดต่าง ๆ เม่น อีเห็น ชะนี ลิง กระจง หมาป่า ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ทางใต้ติดกับอุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และสหภาพพม่า
ผู้เข้าชมข้อมูลของอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ : 27,695 คน/ครั้ง     
ปรับปรุง :  23 สิงหาคม 2553     
อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
หมู่ที่ 6 ต.ช่องแคบ  อ. พบพระ  จ. ตาก   63160
โทรศัพท์ 0 5557 7590   อีเมล reserve@dnp.go.th

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

 
ข้อมูล
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยผักกูด

ประวัติหมู่บ้านห้วยผักกูด
ชาวบ้านส่วนใหญ่ย้ายมาจากหมู่บ้านพะดี อำเภอพบพระ เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรบ้านพะดีมีน้อยไม่เพียงพอ จึงย้ายมาอยู่ที่บ้านห้วยผักกูด 
          บ้านห้วยผักกูดครั้งแรกมีชาวบ้านประมาณ    20    คน   โดยการนำของ   นายเผ่าฮ่อชุ  และนางมื้อแหละ  เดินทางมาจากบ้านพะดี อำเภอพบพระ เมื่อประมาณ  60  ปีก่อน  หรือก่อนสงคราม ญี่ปุ่น  จะเกิดขึ้นมาหาทำเลขที่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัย และการเพาะปลูก จนมาถึงพื้นที่ลุ่มซึ่งมีลำห้วยไหลผ่าน  นายฮ่อชุ  จึงสร้างบ้านเรือนขึ้น  4  หลัง  ต่อมามีนายสะพลอ  ซึ่งเป็นหลานของนางมื้อแหละ ได้เดินทางพาภรรยาเข้ามาสร้างบ้านเรือนลูกหลานมากขึ้นจนถึงปัจจุบันมีจำนวน   36  หลังคาเรือนและมีประชากรอาศัยอยู่   207  คน
          สภาพการดำรงชีวิต ชาวบ้านอยู่กันอย่างสันโดษ รักความสงบ และอิสระ ประกอบอาชีพโดยการปลูกข้าว   ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์  เช่น เลี้ยงหมู  เลี้ยงไก่  เลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย  ซึ่งทำแบบพอเพียงภายในครอบครัว  แต่ขาดแคลนเครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ เช่น เสื้อผา และเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ
- ระบบไฟฟ้าที่ใช้ในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง  บ้านห้วยผักกูด  เป็นแบบ โซล่าเซลล์
-ระบบน้ำที่ใช้ใน ศูนย์การเรียน ฯ  ใช้ประปาภูเขา
 สภาพภูมิศาสตร์ 
อานาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ          ติดกับ             บ้านห้วยระพริ้ง   หมู่ 8  ตำบลพะวอ  อำเภอแม่สอด
          ทิศใต้             ติดกับ             บ้านเจดีย์โค๊ะ   หมู่ 6 ตำบลมหาวัน  อำเภอแม่สอด
          ทิศตะวันออก     ติดกับ             บ้านป่าหวาย    หมู่ 3  ตำบลคีรีราษฏร์  อำเภอพบพระ
          ทิศตะวันตก      ติดกับ             บ้านปางวัว    หมู่ 6 ตำบลมหาวัน  อำเภอแม่สอด
ลักษณะภูมิประเทศ
          - เป็นพื้นที่ที่อยู่กลางภูเขา หรือในหุบภูเขาโดยรอบหมู่บ้านเป็นภูเขาพื้นที่สูง และกลางหมู่บ้านมีน้ำห้วยไหลผ่านลงไปท้ายหมู่บ้าน

ลักษณะภูมิอากาศ
            แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม  อากาศจะค่อยๆทวีความร้อนขึ้นตามลำดับโดยจะมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน ของทุกปี เฉลี่ยประมาณ 34 องศาเซลเซียส
          - ฤดูฝน  เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  ไปจนถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำฝนมากที่สุด
- ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม  ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็น ช่วง   เดือนธันวาคม และเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย    24– 34  องศาเซลเซียส

การคมนาคม
ระยะทางจากอำเภอถึงชุมชน 48 กิโลเมตรแยกเป็นถนนลาดยาง  28  กิโลเมตร
ถนนลูกรังอัดแน่น 12  กิโลเมตร  ถนนดิน  8  กิโลเมตร  ราคาค่ารถโดยสารจากอำเภอถึงชุมชน 200 บาท
คณะกรรมการหมู่บ้าน   

  ข้อมูลประชากร
จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 207 คน ผู้ชาย  จำนวน 101 คน  ผู้หญิง จำนวน 106 คน
ประชากร   เผ่ากะเหรี่ยง       ภาษาปากะญอ
                                          ตารางการจำแนกประชากรตามช่วงอายุ
ชื่อบ้าน
แยกตามอายุ(ปี)
ผู้ชาย
(คน)
ผู้หญิง
(คน)
รวม
หมายเหตุ
ห้วยผักกูด
1 - 6  ปี
16
18
34

7 - 9  ปี
13
11
24

10 - 12  ปี
8
14
22

13 - 15  ปี
6
11
17

16 - 18  ปี
9
6
15

19 - 25  ปี
16
8
24

26 - 35  ปี
7
16
23

36 - 50  ปี
17
13
30

51 - 60  ปี
6
4
10

61   ปีขึ้นไป
3
5
8

รวม
101
106
207


จำนวนครัวเรือน  ค่าเฉลี่ย  จัดกลุ่มครัวเรือน  
ค่าเฉลี่ยครัวเรือน
ขนาดครัวเรือน
หมายเหตุ

ขนาดเล็ก(1-4 คน)
ขนาดเล็ก(5- 8คน)
ขนาดใหญ่(9 คนขึ้นไป)
รวม

จำนวนครัวเรือน
15
19
8
42

จำนวนหลังคาเรือน
36     หลังคาเรือน


ผู้ที่มีอายุมากที่สุดในชุมชน

ชื่อ – สกุล
เพศ
อายุ
วัน/เดือน/ปีเกิด
ที่อยู่
นางยะพอ  -
หญิง
85
-   2469
9  หมูที่ 8 ต.พะวอ



การนับถือศาสนา
ศาสนา
จำนวน(ครัวเรือน)
จำนวน(คน)
หมายเหตุ
พุทธ
42
207


   เศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่ปลูกไว้ขาย พริก ข้าวโพด
ทรัพยากรในชุมชนสามารถนำมาใช้สอย  ไม้ไผ่  ไม้กวาด  หวาย
การเลี้ยงสัตว์   หมู  ไก่   วัว  ควาย เลี้ยงไว้ขายและเป็นอาหาร
รายได้เฉลี่ย/ปี

ชื่อหมู่บ้าน
รายได้สูงสุด
150,000
(ครัวเรือน/ปี)
รายได้ต่ำสุด
5,000
(ครัวเรือน/ปี)
หนี้สิน
(ครัวเรือน/ปี)
ห้วยผักกูด
2
18
22


   อาชีพ

ชื่อหมู่บ้าน
รับราชการ
รับจ้าง
ค้าขาย
เกษตรกรรม
(ทำไร่)
หน่วยงาน

ห้วยผักกูด
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
-
-
5
7
-
2
51
42
-
-


สรุปอาชีพในหมู่บ้าน  
อาชีพรับจ้าง รวม 12 คน  ชาย  5 คน  หญิง  7  คน
อาชีพค้าขาย รวม 2 คน  ชาย  -  คน  หญิง  2  คน
อาชีพเกษตร ( ทำไร่ )  รวม  93 คน   ชาย  51  คน  หญิง  42  คน


ผู้นำท้องถิ่น
ชื่อ  -  สกุล
ตำแหน่ง
หมายเหตุ
ผู้นำทางการ
1. นายสุรศักดิ์  ทนุเดชคีรี               
ผู้ใหญ่บ้าน

2. นายหม่อล่าเส่   คงยิ่งพนากุล            
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

3. นายสิทธิชัย  บรรพตอภิรักษ์             
สมาชิก อบต.หมู่ 8

4. นายดรงค์  อนุรักษาสาคร              
สมาชิก อบต.หมู่ 8

ผู้นำท้องถิ่นทางการ
- นายสุรศักดิ์  ทนุเดชคีรี           ผู้ใหญ่บ้าน                
- นายหม่อล่าเส่    คงยิ่งพนากุล   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน   
ผู้นำทางธรรมชาติ
- นายแปะที  จารุคีรี
- นายดีว่า   คงยิ่งพนากุล


 สาธารณูปโภค
ไฟฟ้า      พลังงานแสงอาทิตย์   จำนวน  31 ครัวเรือน ไม่มี 5 ครัวเรือน
             ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค     จำนวน  -    ครัวเรือน
โทรศัพท์   มือถือ  จำนวน    35   เครื่อง
             โทรศัพท์สาธารณะ    -    ตู้
น้ำ          ประปาภูเขา         จำนวน   36   ครัวเรือน
             แหล่งน้ำธรรมชาติ   จำนวน   36  ครัวเรือน
ไปรษณีย์   ขนส่งไม่ถึงพื้นที่      ฝากผู้นำในหมู่บ้าน
 สถานที่พยาบาล

ที่
ชื่อสถานพยาบาล
ระยะทาง
โรค
การเข้ารับบริการ(วัน)
เวลา
1
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาวัน
   20   กม.
ทั่วไป
จันทร์-ศุกร์
08.00 -16.30 น.
2
ศูนย์ควบคุมโรคมาลาเรียบ้านห้วยผักกูด
   ในหมู่บ้าน
ตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
ทุกวัน
24  ชั่วโมง

 หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน
- ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวงบ้านห้วยผักกูด
 ศาสนสถาน
- สำนักสงฆ์บ้านห้วยผักกูด  ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546  โดยมีพระสงฆ์ สมปอง เป็นเจ้าอาวาทประจำสำนักอยู่
  สัตว์เลี้ยง

ชื่อหมู่บ้าน
ชนิดสัตว์เลี้ยง
การนำสัตว์ไปใช้ประโยชน์

รวม
ไก่(ตัว)
ช้าง
หมู(ตัว)
วัว(ตัว)
ควาย(ตัว)
ใช้งาน
เป็นอาหาร
จำหน่าย
ห้วยผักกูด
300
-
120
20
17
-
457
-
457


 ยานพาหนะ
           มี  4  ชนิด
   - จักรยาน       12   คัน
   - จักรยานยนต์  13   คัน
   - รถยนต์           -   คัน
   - รถไถเดินตาม  17  คัน
 เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ชื่อหมู่บ้าน
ประเภท
รวม
โทรทัศน์
เครื่องเล่น VCD
คอมพิวเตอร์
อื่นๆ
ห้วยผักกูด
19
14
-
-
33


สถานที่อยู่อาศัย
ชื่อหมู่บ้าน
สภาพของที่อยู่อาศัย
รวม
แบบเดิม
แบบแข็งแรง
ห้วยผักกูด
6
30
36

 การจัดการศึกษาและการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มผู้เรียนเด็ก

ระดับ
ชาย
หญิง
รวม
หมายเหตุ
เตรียมความพร้อม
13
6
19

ป.1
2
5
7

ป.2
1
2
3

ป.3
6
2
8

ป.4
-
4
4

ป.5
-
1
1

ป.6
1
-
1

รวมทั้งหมด
23
20
43


กลุ่มผู้เรียนผู้ใหญ่

ชาย
หญิง
รวม
หมายเหตุ
16
8
24
ครูรับผิดชอบ
2
8
10
เด็กทุนรับผิดชอบ


กลุ่มผู้ใหญ่   กิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ
จัดการเรียนการสอนสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ (อายุ 15-60 ปี) จำนวนผู้ไม่รู้หนังสือ 34 คน
ขออนุญาตจัดตั้งกลุ่มเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน
ให้กับผู้เรียนจำนวน 24 คน โดยมีผู้เรียนเป็น ชาย  18  คน  เป็นหญิง  16  คน  รวมทั้งสิ้น  34  คน จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนที่สนใจ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยการจัดการเรียนการสอน ณ ศศช. และ ตามบ้านผู้เรียนแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในเรื่องต่าง ๆ ผู้เรียนสามารถมาเรียนหรือมาอ่านเพื่อหาความรู้ได้ทุกช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงาน   ครู ได้รับพัฒนาและได้พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถทักษะในการจัดการศึกษาต่อกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ






ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง บ้านห้วยผักกูด

          ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง บ้านห้วยผักกูด ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536 เป็นโครงการควบคุมพืชเสพติด (E.C.)  จนถึงปี พ.ศ.2539 หมดงบของ E.C. จึงได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง   ตั้งอยู่บริเวณท้ายหมู่บ้านและดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจนถึง ปัจจุบัน